วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552
การสมัคร blog
7. ทำการสร้าง blog เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม START POSTING เพื่อทดสอบเข้าใช้งาน
ตัวอย่างการใช้งาน
6.พิมพ์ชื่อเพลง sorry sory แล้วคลิกที่ search ก็จะได้หน้าเว็บดังนี้
7. คลิกเลือกวิดิโอที่ต้องการ
8. เมื่อเลือกแล้วก็จะได้หน้าเว็บใหม่ แล้วให้คลิกที่ช่อง embed เพื่อก๊อปปี้โค้ด
9. เมื่อก๊อปปี้โค้ดเสร็จแล้วให้นำมาวางที่ สร้างบทความใหม่ (ในข้อ 4 ) เสร็จแล้วก็คลิกที่ เผยแพร่บทความ
วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552
7 อุปนิสัยลดโลกร้อน
ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง สิ่งนี้จะช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร ติดตามหาคำตอบได้ดังนี้
1. Rethink ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามuความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง กระแสการรณรงค์เรื่องโลกร้อนจะไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ หากทุกคนที่ได้รับฟังข้อมูลไม่ตระหนักว่าตนเองต้องเปลี่ยนแปลง การรอคอยให้ผู้อื่นทำไปก่อนแล้วเราจึงค่อยคิดจะทำนั้น จะทำให้ท่านได้รับการดูแลจากธรรมชาติเป็นคนท้ายๆ โลกได้ส่งสัญญาณดังขึ้นเรื่อยๆ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว น้ำท่วม ลมพายุ และอุณหภูมิที่แปรปรวนอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน เราอาจเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้ายจากสึนามิเพราะแผ่นดินไหว เครื่องบินตกเพราะฝนกระหน่ำ ป้ายล้มทับเพราะลมพายุ หรือถูกไฟดูดเพราะน้ำท่วม
2. Reduce โลกร้อน เพราะเราเผาผลาญทรัพยากรเกินขีดจำกัดที่ธรรมชาติจะหมุนเวียนได้ทัน โลกบูด เพราะเราบริโภคเกินจนเกิดขยะและของเสียที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ทัน ไม่มีใครปฏิเสธว่าเราทุกคนต้องการอยู่ในโลกที่เย็นและโลกที่หอม ฉะนั้นจงช่วยกันลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือแต่เท่าที่จำเป็น ช่วยกันลดการบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมากอย่างที่เป็นอยู่ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ต้องใช้เวลาชั่วอายุคนในการย่อยสลาย เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก กล่องโฟม ฯลฯ ลดการบริโภคเนื้อสัตว์โดยหันมาบริโภคพืชผักผลไม้ทดแทน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อาหาร ลดการใช้กระดาษในสำนักงาน ลดการพิมพ์หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายข่าว หรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นรายงวดประจำ ให้พอเหมาะพอดีกับจำนวนผู้อ่าน โดยไม่ต้องอิงกับยอดของการทำให้แพร่หลาย (circulation) รวมทั้งลดการซื้อผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. Reuse สำรวจของที่ซื้อมาแล้วเพิ่งใช้เพียงหนเดียวว่า สามารถใช้ประโยชน์ซ้ำได้หรือไม่ ก่อนที่จะซื้อใหม่ เช่น เครื่องแต่งกาย รองเท้า กระเป๋า กระดาษ ภาชนะใส่ของ ฯลฯ การใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ เช่น ถุงหิ้วพลาสติก กล่องใส่ของ ฯลฯ หรือหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (disposables) เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนกระดาษชำระ การใช้ขวดน้ำยาล้างสุขภัณฑ์ชนิดเติมซ้ำได้ (refillable)
4. Recycle เป็นการนำวัสดุที่หมดสภาพหรือที่ใช้แล้วมาปรับสภาพเพื่อนำมาใช้ใหม่ เริ่มจากการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ฯลฯ การลงมือปรับแต่งของใช้แล้วในบ้านให้เกิดประโยชน์ใหม่ เช่น การเก็บกรองน้ำชะล้างมารดน้ำต้นไม้ การนำของขวัญที่ได้รับในเทศกาลต่างๆ มาตกแต่งเพื่อใช้เป็นของขวัญแก่ผู้อื่นต่อ (recycled gift) โดยมีกิตติกรรมประกาศแก่ผู้ให้เดิมเป็นทอดๆ ฯลฯ การคัดแยกขยะหรือวัสดุเหลือใช้ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เอง มอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกิจวัตร เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม กระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่า แผ่นซีดีชำรุด แบตเตอรี่มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และหากพบว่ามีสิ่งของหลายอย่างที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้งานอีกเลย ก็ควรนำไปบริจาคให้แก่ผู้ที่ใช้ประโยชน์ได้ผ่านหน่วยรับบริจาคต่างๆ เช่น วัดสวนแก้ว หรือประกาศผ่าน freecycle.org (bangkok) ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์
5. Repair ของหลายอย่างสามารถซ่อมแซมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังเดิม แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการปลูกฝังค่านิยมให้ต้องเปลี่ยนหรือซื้อของใหม่ใช้อยู่ตลอด ด้วยเหตุที่ผู้ผลิตต้องการรักษาตัวเลขยอดขายสินค้าและชิ้นส่วนให้ได้มากที่สุด จนทำให้ค่าบริการหรือค่าซ่อมแพงกว่าการซื้อของใหม่ใช้ ฉะนั้น วิธีการแรก คือ พยายามใช้ของให้ถูกวิธีเพื่อยืดอายุการใช้งานและหลีกเลี่ยงการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร หากสิ่งของใดมีกำหนดเวลาที่ต้องบำรุงรักษา หมั่นตรวจสอบและปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษานั้นๆ เช่น รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ
6. Refuse การปฏิเสธเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือถูกทำลายเร็วขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เวลาธรรมชาติในการฟื้นสภาพตัวเองตามระบบนิเวศ โดยเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยนอกตัว เช่น ปฏิเสธการใช้สินค้าที่เป็นต้นเหตุในการฆ่าชีวิตสัตว์หรือทำลายสิ่งแวดล้อม บอกเลิกรับจดหมายนำเสนอขายสินค้าที่ในชีวิตนี้จะไม่ซื้อแน่ๆ เรื่อยมาถึงสิ่งที่เราต้องเติมใส่ร่างกาย เช่น ปฏิเสธการบริโภคอาหารที่ต้องเดินทางมาจากแดนไกล เพราะระหว่างกระบวนการเก็บรักษาและการขนส่งอาหารในแต่ละเที่ยวจะไปเพิ่มก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุหลักของภาวะโลกร้อน
7. Return หน้าที่หนึ่งของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยโลกเป็นที่พักพิง คือ การตอบแทนคืนแก่โลก ใครใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติประเภทใดเยอะ ก็ต้องคืนทรัพยากรประเภทนั้นกลับให้มากๆ โดยเฉพาะนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ที่มีเครื่องขยายพิสัยโดยใช้บริษัทเป็นเครื่องมือในการทำ "กำไร" จากการแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบต่างๆ ให้เป็นสินค้าและบริการคราวละมากๆ โปรดอย่าลืมว่าท่านกำลังใช้บริษัทเป็นเครื่องมือในการทำ "กรรม" และได้ขยายพิสัยของกรรมในขณะเดียวกัน ยิ่งเป็นมหาเศรษฐีมีกำไรสะสมมากเท่าใด ก็ยิ่งต้องตอบแทนคืนแก่โลกแก่สังคมมากเท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้าท่านเป็นผู้ให้แก่โลกแก่สังคมมากเท่าใด โลกก็จะตอบแทนคืนแก่ท่านมากเช่นกัน ฉะนั้นจงอย่าติดหนี้โลก วันดีคืนดีอาจกลายเป็นวันร้ายคืนร้าย เพราะโลกจะมาทวงหนี้จากท่าน หากเป็นหนี้ระยะสั้น ก็ต้องชดใช้กันในชีวิตนี้ แต่หากเป็นหนี้ระยะยาว โลกก็จะตั้งบัญชีค้างชำระรอทวงในชาติต่อๆ ไป พร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ทับถมทวีคูณ ตราบที่ท่านยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่บนโลกใบนี้
ประวัติ
นครวัด ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ในประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์ เมื่อสมัยแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในปัจจุบันปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
ประวัติ
ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา (Antonio da Magdalena) เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมาปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก
ขนาดและการก่อสร้าง มุมองนครวัดทางอากาศ
หอสูงบริเวณศูนย์กลางของปราสาทหินนครวัด
ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ
ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง
ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี
หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก (ราว 50 องศา) แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด
รูปสลักและงานประติมากรรม
ภาพสลักนูนสูงรูปนางอัปสรฟ้อนรำ
ทางด้านกำแพงชั้นนอกรอบปราสาทนั้น มีความยาวกว่า 800 เมตร มีงานแกะสลักเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่อง รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดก็คือรูปที่เทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ และยังมีรูปแกะสลักนางอัปสรอีกถึง 1,635 นาง ที่ทั้งหมดแต่งกายและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย
มีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยาม ที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจาม มีอักษรจารึกไว้ว่า “สยำ กุก” ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้วน่าจะหมายถึงกองทัพสยามจากลุ่มแม่น้ำกก คือกำลังที่มาจากเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนหรือจากสุพรรณบุรี และคำว่า “ โลว” สันนิษฐานว่าเป็นกองทัพจากเมืองละโว้ [1]
ภาพพาโนรามาตั้งแต่ทางเข้าจนเห็นตัวปราสาทอยู่ไกลๆ
9 วิธีลดโลกร้อน
ปัจจุบันภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ในแต่ละประเทศ ภูมิภาคต่างๆ และยังทำให้มีผลกระทบต่อ
1.ด้านภูมิอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น น้ำแข็งจากขั้วโลกเหนือ ละลายจนกลายเป็นน้ำ และเกิดภาวะน้ำท่วมหรืออุทกภัยในประเทศต่างๆ บ่อยมากขึ้น จนทำให้บ้านเมืองเสียหาย และผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
2.ด้านเศรษฐกิจ พืชผัก ผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้คุณภาพและประสิทธิภาพ เพราะการเก็บพืชผัก ผลผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว โดยมีผลมาจากด้านภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงลงไปที่ไม่ตามฤดูกาล และยังทำให้พืชผัก ผลผลิตที่เตรียมจะส่งออกราคาตกต่ำ เป็นต้น
จึงเป็นที่รู้กันแล้วว่า "ภาวะโลกร้อน" เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อประเทศไทย และทุกๆ ประเทศ เยาวชนไทยขอเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดยั้งภาวะโลกร้อน ด้วยมือของเรา ด้วยวิธีการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1.ลดการใช้ถุงพลาสติก โดยการใช้ถุงผ้า หรือ ตะกร้า เป็นต้น
2.ประหยัดไฟฟ้า เช่น ควรรีดเสื้อผ้าครั้งละหลายๆ ตัว ไม่ควรเปิดโทรทัศน์ พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เมื่อเราไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น และไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้
3.การรีไซเคิล เมื่อเราวาดรูป หรือข้อความ (ตัวหนังสือ) ลงไปในหน้าเดียวบนกระดาษ A4 เมื่อเราทำงานนั้นเสร็จ หรือนำไปส่งอาจารย์เมื่อตรวจเสร็จก็นำกลับมาใช้อีกด้านหนึ่งก็ได้
4.ไม่ควรปล่อยมลพิษสู่อากาศ น้ำ และดิน เช่น ไม่ควรทิ้งขยะ หรือเศษอาหารลงสู่แม่น้ำ
5.ควรนำน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้อีกมาใช้ เช่น นำน้ำที่ซาวข้าว น้ำซักผ้า มารดต้นไม้
6.ควรประหยัดน้ำ
7.ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์
8.ควรนั่งรถประจำทางหรือรถไฟฟ้าไปเพื่อประหยัดน้ำมัน
9.ช่วยปลูกต้นไม้ เพื่ออากาศที่สดใส
วิธีลดโลกร้อน
อัพเกรดอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างในเครื่องคอมฯ ของคุณเนื่องจากว่าอุปกรณ์ใหม่ๆ ซึ่งนอกจากจะมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นมาแล้ว ก็มักจะประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณยังใช้หน้าจอแบบเก่าที่เราเรียกว่า จอภาพแบบ CRT แล้วก็ควรจะเปลี่ยนเป็นแบบจอภาพ LCD เป็นต้น
หลืกเลี่ยงอุปกรณ์ที่กินไฟมากเกินความจำเป็นวิธีนี้สำหรับคนที่มีเครื่องคอมฯ ที่ค่อนข้างเก่านิดนึง ซึ่งจะมีอุปกรณ์บางชิ้นที่กินไฟมากกว่าที่ควร เช่น การ์ดจอที่ออกแบบมาสำหรับนักเล่นเกมส์ ก็มักจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ในขณะเดียวกันก็จะมากับความร้อนที่เพิ่มขึ้นควบคู่ไปด้วย
ลดความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์วิธีนี้ก็สามารถลดการใช้พลังงานของหน้าจอได้เหมือนกัน แต่ก็อย่าลดมากเกินไป จนทำให้เราต้องใช้สายตาเพ่งมอง มากกว่าปกตินะครับ
ปิดอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานตามปกติตัวอย่างเช่น ลำโพง เครื่องพรินเตอร์ สแกนเนอร์ เป็นต้น ซึ่งถ้าเราไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ ก็ควรจะปิดสวิทช์ของเครื่อง แต่ในขณะเดียวกันเราก็ควรที่จะชักปลั๊กออกด้วย ซึ่งวิธีนี้ทำให้เราประหยัดค่าไฟได้อีกทางนึง
ปิดโปรแกรมที่เราไม่ได้ใช้งานบ่อยๆเช่นโปรแกรมที่จะคอยค้นหาสัญญาณต่างๆ เช่น bluetooth, wireless เป็นต้น ซึ่งถ้าเราไม่ได้ใช้พีเจอร์พวกนี้ เราก็ควรจะปิดไว้เป็นการชั่วคราวก่อนก็ดีนะครับ
ใช้โหมดประหยัดพลังงานในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง จะมีโหมดประหยัดพลังงาน ซึ่งสามารถทำให้เครื่องคอมฯ กินไฟได้น้อยลงเหมือนกัน
ปิดเครื่องคอมฯ ไปเลยเราไม่ได้กวนนะครับ แต่ถ้าหากพวกเราไม่ได้ใช้งาน เราก็ควรปิดเครื่่องไปเลยใช่มั๊ยครับ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราประหยัดพลังงานแล้ว ยังทำให้เรายืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ของเราได้ด้วยนะครับ
ข่าวจากกรีนพีช
01 มีนาคม 2552
การรณรงค์โดยการแสดงละครล้อเลียนที่สถานที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในวันนี้ นักกิจกรรมของกรีนพีซสวมหน้ากากเป็นผู้นำอาเซียน และมีนักกิจกรรมสวมชุดอุรังอุตังเข้ามาแสดงความยินดีกับเหล่าผู้นำอาเซียน ซึ่งยืนอยู่ในท่าจับมือกัน และมีข้อตกลงร่วมกันในการปกป้องป่าไม้เพื่อยุติภาวะโลกร้อน ทำให้อุรังอุตังดีใจร่าเริงอยู่ข้างๆ กรีนพีซเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนประกาศหยุดการทำลายป่าทันที และมีข้อตกลงหยุดการทำลายป่าโดยสิ้นเชิงในภูมิภาคภายในพ.ศ. 2563
ชะอำ, ประเทศไทย — กรีนพีซวิพากษ์การประชุมสุดยอดอาเซียน ไร้วี่แววการปฏิบัติการเพื่อปกป้องป่าไม้ในภูมิภาคกว่า 283 ล้านเฮกเตอร์ (2,830,000 ตารางกิโลเมตร) และการยุติภัยคุกคามวิถีชีวิตของชุมชนในเขตป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ การทำลายป่าไม้อย่างรวดเร็วและขาดการตรวจสอบ ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาลและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกินควบคุมมากยิ่งขึ้น
การรณรงค์โดยการแสดงละครล้อเลียนวันนี้ นักกิจกรรมของกรีนพีซสวมหน้ากากเป็นผู้นำอาเซียน และมีนักกิจกรรมสวมชุดอุรังอุตังเข้ามาจับมือแสดงความยินดีกับเหล่าผู้นำอาเซียน ซึ่งยืนอยู่ในท่าจับมือกัน และมีข้อตกลงร่วมกันในการปกป้องป่าไม้เพื่อยุติภาวะโลกร้อน ทำให้ลิงอุรังอุตังร่าเริงดีใจ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผืนป่าประมาณร้อยละ 16 ของพื้นที่ป่าเขตร้อนทั่วโลก แต่ก็เป็นภูมิภาคที่มีอัตราการตัดไม้ทำลายป่าสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีอัตราการทำลายป่าสูงถึง 3.1 ล้านเฮกเตอร์(31,000 ตารางกิโลเมตร) ต่อปี นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซียยังได้ถูกบันทึกไว้ในกินเนส เวิลด์ เรคคอร์ด ว่าเป็นประเทศที่มีการตัดไม้ทำลายป่าเร็วที่สุดในโลก
กรีนพีซเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนยอมรับข้อเสนอให้ยุติการตัดไม้ทำลายป่าในภูมิภาคนี้ โดยจะต้องยุติให้ได้ภายในปี 2563 “การตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลกส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึงร้อยละ 20 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ป่าเขตร้อนร้อยละ 16 ของพื้นที่ป่าทั่วโลก เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การยุติการทำลายป่าไม้จึงสำคัญอย่างยิ่ง เราหวังว่าผู้นำอาเซียนจะให้ความสนใจเรื่องการปกป้องคุ้มครองป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยยอมรับข้อเสนอของกรีนพีซในการผลักดันให้ประเทศอุตสาหกรรมจัดสรรงบประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญยูโรทุกๆ ปี ไปจนถึงปี 2563 เพื่อนำไปสนับสนุนให้เกิดการยุติการทำลายป่าในประเทศกำลังพัฒนา แต่ก่อนที่จะก้าวไปถึงข้อเสนอดังกล่าว สิ่งแรกที่อาเซียนจะต้องลงมือทำก็คือการประกาศข้อเสนอการหยุดทำลายป่าไม้” นายบุสตาร์ ไมทาร์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
"ข้อเสนอที่เป็นไปตามปกตินั้นสนับสนุนประเทศอุตสาหกรรม ที่สมควรเป็นผู้รับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก โดยเปิดช่องให้เป็นผู้ทำลายและปรุงโลกใบนี้ให้ร้อนขึ้น"ธารา บัวคำศรีผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า และจากความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (REDD) ควรจะมีข้อตกลงเกิดขึ้นในการเจรจาโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน ข้อตกลงนี้ต้องรับประกันว่าจะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งสิทธิของชุมชนพื้นเมือง โดยไม่ปล่อยให้เกิดช่องว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม และข้อตกลงนี้ต้องให้เงินทุนสนับสนุนการลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการยุติการทำลายป่าโดยสิ้นเชิง (Zero deforestation) ในประเทศกำลังพัฒนา ภายในปี 2563 ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 13 ที่บาหลี กรีนพีซได้ยื่นข้อเสนอกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและยุติการทำลายป่าเขตร้อน (www.greenpeace.org/forestsforclimate) กลไกดังกล่าวเป็นกองทุนที่เชื่อมโยงกับตลาดแบบลูกผสม (hybrid market-linked fund) องค์ประกอบดังกล่าวจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าขีดความสามารถของประเทศต่างๆ จะอยู่ในระดับใดก็ตาม ป่าเขตร้อนสำคัญอย่างมากต่อสรรพชีวิต เนื่องจากช่วยรักษาสภาพภูมิอากาศ ระบบการไหลของน้ำ และ รักษาสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์พึ่งพิง ป่าไม้คือชีวิตของทุกสรรพสิ่งบนโลก เช่น อุรังอุตัง ช้าง เสือ และ เสือจากัวร์ ชนพื้นเมืองสูงสุดถึง 150 ล้านคนทั่วโลก อาศัยอยู่ในเขตป่า พวกเขาต้องมีอนาคตที่มั่นคง เพื่อที่จะสามารถเป็นผู้ปกป้องป่าได้ต่อไป หากแต่ละประเทศมีพันธะปกป้องผืนป่าของตนโดยประกาศใช้กฎหมายยุติการทำลายป่า พวกเราก็จะบรรลุผลดีถึง 3 ด้าน ทั้งต่อชุมชนท้องถิ่น ประชากรในผืนป่า สภาพภูมิอากาศ และ ความหลากหลายทางชีวภาพ “เป็นเวลาหลายปีที่ภูมิภาคอาเซียนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง ดังนั้นผู้นำประเทศกลุ่มอาเซียนจึงต้องร่วมกันออกข้อเสนอที่กล้าแกร่ง เพื่อปกป้องประชาชนและเศรษฐกิจในภูมิภาคของตนจากมหันตภัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข้อเสนอที่เป็นไปตามปกติ (business as usual) นั้นสนับสนุนประเทศอุตสาหกรรม ที่สมควรเป็นผู้รับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก โดยเปิดช่องให้เป็นผู้ทำลายและปรุงโลกใบนี้ให้ร้อนขึ้น” นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
— กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นครวัด
นครวัด
ปราสาทบันทายสรี
• ปีที่สร้าง : สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 16
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 5
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบันทายสรี
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย (บูชาพระศิวะ)
• ตามจารึกที่ปราสาทบันทายสรีกล่าวว่าปราสาทแห่งนี้สร้างใน พ.ศ. 1510 โดยพราหมณ์ชื่อยัชญวราหะ• ออกจากปราสาบันทายสรี ก็มาต่อกันที่ ปราสาทสำเหร่
ปราสาทบันทายสำเหร่
• ปีที่สร้าง : สร้างกลางปีพุทธศตวรรษที่ 17
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และต่อเติมโดยพระเจ้ายโศวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบนครวัด
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย
• ปราสาทบันทายสำเหร่ ตั้งอยู่ไกลจากปราสาทในกลุ่มเมืองพระนคร ปราสาทแห่งนี้คล้ายกับปราสาทหินพิมาย
ปราสาทตาพรหม
• ปีที่สร้าง : สร้างในปลายปีพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1729)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการขยายพื้นที่สร้างต่อเติมอีกในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
• ปราสาทตาพรหมจัดได้ว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาและเป็นวิหารหลวงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
นครธมและปราสาทบายน
• ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธม แปลว่า ใหญ่) เมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์เป็นที่สุด
• ปราสาทบายนสร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ปราสาทนครวัด นครวัด เที่ยวนครวัด ทัวร์นครวัด รูปนครวัด
• ปีที่สร้าง : พุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1650 – 1693)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
• ศิลปะ : ศิลปะแบบนครวัด
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย
• มหาปราสาทนครวัด ก่อสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1650 – 1693) จุดประสงค์เพื่อสร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุเทพในศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ และยังใช้เป็นราชสุสานเก็บพระศพของพระองค์ ด้วยเหตุนี้มหาปราสาทนครวัดจึงถูกสร้างให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต่างจากปราสาทอื่นๆ
ข้อมูลแก๊สเรือนกระจก
มนุษย์จะอยู่ไม่ได้หากปราศจากสิ่งที่เรียกว่า "แก๊สเรือนกระจก" ซึ่งเป็นแก๊สที่ทำให้บรรยากาศโลกอบอุ่น ถ้าความร้อนบางส่วนที่สะท้อนจากผิวโลกไม่ถูกกักเก็บไว้โดยแก๊สเรือนกระจก โลกของเราจะมีอุณหภูมิลดลงมากกว่า 33 องศาเซลเซียส ปัญหาคือ ขณะนี้มนุษย์เป็นตัวการปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากขึ้นเรื่อยๆ และเข้ารบกวนสมดุลธรรมชาติอันละเอียดอ่อน แก๊สเรือนกระจกเหล่านี้มาจากไหน...
น้ำมัน - เป็นแหล่งพลังงานหลักและแหล่งปล่อยก๊าสคาร์อนไดออกไซต์ที่สำคัญ โดยมีสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ร้อยละ 40 ของการปล่อยจากเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด ผลิตภัณฑ์น้ำมันเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในยานยนต์และเครื่องบิน และระบบทำความร้อน รวมถึงโรงไฟฟ้า
ถ่านหิน - เป็นตัวการใหญ่เช่นเดียวกับน้ำมัน และเมื่อเร็วๆ นี้ได้กลายเป็นตัวการโลกร้อนหมายเลขหนึ่ง การเผาไหม้ถ่านหินปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์จำนวนมหาศาล ลิกไนต์เป็นถ่านหินที่สกปรกมากที่สุด แม้จะคาดกันว่าแหล่งสำรองถ่านหินและลิกไนต์จะมีใช้ต่อไปอีกหลายร้อยปี แต่การใช้ถ่านหินมากขึ้นเป็นหายนะภัยอันใหญ่หลวงต่อสภาพภูมิอากาศของโลก
แก๊สธรรมชาติ - ถือได้ว่าเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สกปรกน้อยที่สุด และอาจนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในระบบการผลิตร่วมไฟฟ้า-ความร้อน แต่แก๊สธรรมชาติปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ออกมาครึ่งหนึ่งของลิกไนต์สำหรับพลังงานที่ผลิตได้ทุก 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง
การทำลายป่าฝนเขตร้อน - มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์โดยรวมประมาณ 1 ใน 5 การตัดไม้ออกจากป่าจนหมดเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะจำนำไปสู่การล่มสลายของระบบภูมิอากาศทั้งหมดในพื้นที่ ตัวอย่างเช่น ในลุ่มน้ำอะเมซอน เป็นต้น
มีเทน ไนตรัสออกไซต์ และ แก๊สอุตสาหกรรม - เป็นแก๊สเรือนกระจกที่สำคัญ แหล่งกำเนิดหลักของมีเทน คือ การปศุสัตว์ การเกษตรกรรม การทำลายป่าไม้ แต่การปล่อยแก๊สมีเทนออกมาในปริมาณมหาศาลยังมาจากการพังทลายของชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) การทำเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมียังเป็นแหล่งใหญ่ของแก๊สไนตรัสออกไซต์ แก๊สอุตสาหกรรมที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศและกระบวนการทางเคมีบางอย่างก็เป็นส่วนสำคัญของการทำลายสภาพภูมิอากาศ
ความรู้
เป็นปรากฎการณ์สืบเนื่องจากการที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างที่เคยเป็น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาอุณหภูมิดังกล่าวสูงขึ้นเพียงไม่กี่องศาแต่ก็ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างรุนแรง สภาวะดังกล่าวเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (climate change)
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการถกเถียงกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เนื่องจากโลกได้มีการเปลี่ยนสภาพอากาศมาแล้วนับไม่ถ้วน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายแสนปี แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์แทบทั้งหมดเชื่อว่า มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้นและเป็นที่แน่ชัดว่ากิจกรรมของมนุษย์มีส่วนเร่งให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวให้มีความรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ
กลไกของสภาวะโลกร้อน
ในสภาวะปกติ โลกเราจะได้รับพลังงานประมาณ 99.95 % จากดวงอาทิตย์ ในรูปแบบของการแผ่รังสี
พลังงานที่เหลือมาจากความร้อนใต้ภิพซึ่งหลงเหลือจากการก่อตัวของโลกจากฝุ่นธุลีในอวกาศและการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในโลก ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาโลกเราสามารถรักษาสมดุลย์ของพลังงานที่ได้รับอย่างดีเยี่ยม โดยมีการสะท้อนความร้อนและการแผ่รังสีจากโลกจนพลังงานสุทธิที่ได้รับในแต่ละวันเท่ากับศูนย์ทำให้โลกมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลายกลไกหนึ่งที่ทำให้โลกเรารักษาพลังงานความร้อนไว้ได้ คือ "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouseeffect) โดยโลกจะมีชั้นบาง ๆ ของแก๊สกลุ่มหนึ่งเรียกว่า "แก๊สเรือนกระจก" (greenhouse gas)ที่ทำหน้าที่ดักและสะท้อนความร้อนที่โลกแผ่กลับออกไปในอวกาศให้กลับเข้าไปในโลกอีก หากไม่มีแก๊สกลุ่มนี้โลกจะไม่สามารถเก็บพลังงานไว้ได้ และจะมีอุณหภูมิแปรปรวนในแต่ละวัน แก๊สกลุ่มนี้จึงทำหน้าที่เสมือนผ้าห่มบาง ๆ ที่คลุมโลกที่หนาวเย็นการณ์กลับกลายเป็นว่าในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาโลกเราได้มีการสะสมแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆที่ใช้ในกิจกรรมประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกทำให้โลกไม่สามารถแผ่ความร้อนออกไปได้อย่างที่เคยส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสมือนกับโลกเรามีผ้าห่มที่หนาขึ้นนั่นเอง
ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอด ๆ
และจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง (glaciers) แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้นน้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันที มีการคาดการณ์ว่า หากน้ำแข็งดังกล่าวละลายหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตรทีเดียว ผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อีกประการหนึ่งคือ การเกิดพายุหมุนที่มีความถี่มากขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ดังเราจะเห็นได้จากข่าวพายุเฮอริเคนที่พัดเข้าถล่มสหรัฐหลายลูกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ละลูกก็สร้างความเสียหายในระดับหายนะทั้งสิ้น สาเหตุอาจอธิบายได้ในแง่พลังงาน กล่าวคือ เมื่อมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่พายุได้รับก็มากขึ้นไปด้วย
ส่งผลให้พายุมีความรุนแรงกว่าที่เคย นอกจากนั้น สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมาซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย
ตารางแสดงแก๊สเรือนกระจกและแหล่งที่มาแก๊สเรือนกระจก
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)
1) จากแหล่งธรรมชาติ เช่น กระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิต
2) จากมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ , การตัดไม้ทำลายป่า (ลดการดูดซับ CO2)
แก๊สมีเทน(CH4)
1) จากแหล่งธรรมชาติ เช่น จากการย่อยสลายของสิ่งมีชีวิต, การเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ
2) จากมนุษย์ เช่น จากนาข้าว, แหล่งน้ำท่วม, จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน
และแก๊สธรรมชาติ
แก๊สไนตรัสออกไซด์
1) (N2O) ) จากมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต, อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมไนลอน,อุตสาหกรรมเคมี, การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากพืชและสัตว์, ปุ๋ย, การเผาป่า
2) จากแหล่งธรรมชาติ - อยู่ในภาวะที่สมดุล
แก๊สที่มีส่วนประกอบ
คลอโรฟลูออโรคาร์บอน
(CFCS) จากมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมต่างๆ และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โฟม, กระป๋องสเปรย์,เครื่องทำความเย็น ; ตู้เย็น แอร์ , ตัวทำลาย(แก๊สนี้จะรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซนทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดลงหรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน)
อะไรทำให้โลกร้อนขึ้น
เกิดสภาวะโลกร้อน เราคงทราบแล้วว่าสภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่มีแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศมากเกินไป แก๊สเรือนกระจกตัวหนึ่งที่สำคัญได้แก่คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อใช้งาน
มนุษย์เองเป็นผู้ปล่อยแก๊สนี้ออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อนำพลังงานมาใช้ ยิ่งเราใช้พลังงานมากเท่าใดก็ยิ่งได้แก๊สเรือนกระจกออกมามากขึ้นเป็นเงาตามตัว หากเราพิจารณาอัตราการใช้พลังงานในช่วงครึ่งศรวรรษที่ผ่านมาจะพบว่าสอดคล้องกับการเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเป็นอย่างดี และไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันนี้ ที่จริงแล้วเป็นกระบวนการรักษาตัวเองของโลก หากเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโลกจะกลับมาสู่สภาวะสมดุลได้ในเวลาไม่นานนัก แต่เนื่องจากมนุษย์เราเร่งผลิตแก๊สเรือนกระจกออกมามากเกินขีดความสามารถของโลกที่จะเยียวยาตนเองได้ทันการเกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วและรุนแรงจึงเกิดขึ้น กล่าวโดยสรุปก็คือสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนในครั้งนี้ก็คือ...มนุษย์แล้วเราจะหยุดสภาวะโลกร้อนได้อย่างไรเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าเราคงไม่อาจหยุดยั้งสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตแก๊สเรือนกระจกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้ เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็ก ๆ จำนวนมากทำงานประสานกัน การตอบสนองที่มีต่อการกระตุ้นต่าง ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล และแน่นอนว่าสภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมจะแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันอย่างมาก แต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้ และอาจจะชลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง กินเวลานานขึ้น สิ่งที่เราพอจะทำได้ตอนนี้คือพยายามลดการผลิตแก๊สเรือนกระจกลง และเนื่องจากเราทราบว่าแก๊สดังกล่าวมาจากกระบวนการใช้พลังงาน การะประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อนไปในตัวเรามาช่วยกันแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะขับรถให้น้อยลง รีไซเคิลให้มากขึ้น ตรวจลมยางเป็นประจำ อาบน้ำร้อน (จากเครื่องทำน้ำอุ่น) ให้น้อยลง ลดขยะลดหีบห่อที่ไม่จำเป็น ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศในห้องให้พอเหมาะ ปลูกต้นไม้มาก ๆ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ช่วยกันบอกต่อข่าวนี้ เพื่อร่วมกันสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมใก้เกิดขึ้น
วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552
บทความ
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง
ความรู้ บทความ
ดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิ
อากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 21(พ.ศ. 2543–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่างๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี พ.ศ. 2643 แต่ความร้อนจะยังคงเพิ่มขึ้นและระดับน้ำทะเลก็จะสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายสหัสวรรษ แม้ว่าระดับของแก๊สเรือนกระจกจะเข้าสู่ภาวะเสถียรแล้วก็ตาม การที่อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลเข้าสู่สภาวะดุลยภาพได้ช้าเป็นเหตุมาจากความจุความร้อนของน้ำในมหาสมุทรซึ่งมีค่าสูงมาก การที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และคาดว่าทำให้เกิดภาวะลมฟ้าอากาศสุดโต่ง (extreme weather) ที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณและรูปแบบการเกิดหยาดน้ำฟ้าจะเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบอื่นๆ ของปรากฏการณ์โลกร้อนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผลิตผลทางเกษตร การเคลื่อนถอยของธารน้ำแข็ง การสูญพันธุ์พืช-สัตว์ต่างๆ รวมทั้งการกลายพันธุ์และแพร่ขยายโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง ได้แก่ปริมาณของความร้อนที่คาดว่าจะเพิ่มในอนาคต ผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบอื่นๆ ที่จะเกิดกับแต่ละภูมิภาคบนโลกว่าจะแตกต่างกันอย่างไร รัฐบาลของประเทศต่างๆ แทบทุกประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันทางการเมืองและการโต้วาทีสาธารณะไปทั่วทั้งโลกเกี่ยวกับมาตรการว่าควรเป็นอย่างไร จึงจะลดหรือย้อนกลับความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกในอนาคต หรือจะปรับตัวกันอย่างไรต่อผลกระทบของปรากฏการณ์โลกร้อนที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้น
คำว่า “ปรากฏการณ์โลกร้อน” เป็นคำจำเพาะคำหนึ่งของอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก โดยที่ "การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ" มีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทุกช่วงเวลาของโลก รวมทั้งเหตุการณ์ปรากฏการณ์โลกเย็นด้วย โดยทั่วไป คำว่า "ปรากฏการณ์โลกร้อน" จะใช้ในการอ้างถึงสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา และมีความเกี่ยวข้องกระทบต่อมนุษย์ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ใช้คำว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Climate Change) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และใช้คำว่า "การผันแปรของภูมิอากาศ" (Climate Variability) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเหตุอื่น ส่วนคำว่า “ปรากฏการณ์โลกร้อนจากกิจกรรมมนุษย์” (anthropogenic global warming) มีที่ใช้ในบางคราวเพื่อเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเหตุอันเนื่องมาจากมนุษย์
สาเหตุ สภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกระทำจากภายนอก ซึ่งรวมถึงการผันแปรของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ (แรงกระทำจากวงโคจร) การระเบิดของภูเขาไฟ และการสะสมของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ รายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุของความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกยังคงเป็นประเด็นการวิจัยที่มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
อย่างไรก็ดี มีความเห็นร่วมทางวิทยาศาสตร์ (scientific consensus) บ่งชี้ว่า ระดับการเพิ่มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดนับแต่เริ่มต้นยุคอุตสาหกรรมเป็นต้นมา สาเหตุข้อนี้มีความชัดเจนมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีข้อมูลมากพอสำหรับการพิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานอื่นในมุมมองที่ไม่ตรงกันกับความเห็นร่วมทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น ซึ่งนำไปใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่อุณหภูมิมีค่าสูงขึ้น สมมุติฐานหนึ่งในนั้นเสนอว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจาก
การผันแปรภายในของดวงอาทิตย์ ผลกระทบจากแรงดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นในฉับพลันทันใด เนื่องจาก “แรงเฉื่อยของความร้อน” (thermal inertia) ของมหาสมุทรและการตอบสนองอันเชื่องช้าต่อผลกระทบทางอ้อมทำให้สภาวะภูมิอากาศของโลก ณ ปัจจุบันยังไม่อยู่ในสภาวะสมดุลจากแรงที่กระทำ การศึกษาเพื่อหา “ข้อผูกมัดของภูมิอากาศ” (Climatecommitment) บ่งชี้ว่า แม้แก๊สเรือนกระจกจะอยู่ในสภาวะเสถียรในปี พ.ศ. 2543 ก็ยังคงมีความร้อนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสอยู่ดี
แก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ ปรากฏการณ์เรือนกระจก ค้นพบโดยโจเซฟ ฟูเรียร์ เมื่อ พ.ศ. 2367 และได้รับการตรวจสอบเชิงปริมาณโดยสวานเต อาร์รีเนียส ในปี พ.ศ. 2439 กระบวนการเกิดขึ้นโดยการดูดซับและการปลดปล่อยรังสีอินฟราเรดโดยแก๊สเรือนกระจกเป็นตัวทำให้บรรยากาศและผิวโลกร้อนขึ้น การเกิดผลกระทบของปรากฏการณ์เรือนกระจกดังกล่าวไม่เป็นที่ถกเถียงกันแต่อย่างใด เพราะโดยธรรมชาติแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นนั้นจะมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิอยู่ที่ 33 องศาเซลเซียส อยู่แล้ว ซึ่งถ้าไม่มี มนุษย์ก็จะอยู่อาศัยไม่ได้ ประเด็นปัญหาจึงอยู่ที่ว่าความแรงของปรากฏการณ์เรือนกระจกจะเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมของมนุษย์ไปเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ แก๊สเรือนกระจกหลักบนโลกคือ ไอระเหยของน้ำ ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนมากถึงประมาณ 30-60% (ไม่รวมก้อนเมฆ) คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวการอีกประมาณ 9–26% แก๊สมีเทน (CH4) เป็นตัวการ 4–9% และโอโซนอีก 3–7% ซึ่งหากนับโมเลกุลต่อโมเลกุล แก๊สมีเทนมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ความเข้มข้นน้อยกว่ามาก ดังนั้นแรงการแผ่ความร้อนจึงมีสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของคาร์บอนไดออกไซด์ และยังมีแก๊สอื่นอีกที่เกิดตามธรรมชาติแต่มีปริมาณน้อยมาก หนึ่งในนั้นคือ ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมของมนุษย์ เช่นเกษตรกรรม ความเข้มในบรรยากาศของ CO2 และ CH4 เพิ่มขึ้น 31% และ 149 % ตามลำดับนับจากการเริ่มต้นของยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงประมาณ พ.ศ. 2290 (ประมาณปลายรัชสมัยพระบรมโกศฯ) เป็นต้นมา ระดับอุณหภูมิเหล่านี้สูงกว่าอุณหภูมิของโลกที่ขึ้นๆ ลงๆ ในช่วง 650,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่ได้มาจากแกนน้ำแข็งที่เจาะมาได้ และจากหลักฐานทางธรณีวิทยาด้านอื่นก็ทำให้เชื่อว่าค่าของ CO2 ที่สูงในระดับใกล้เคียงกันดังกล่าวเป็นมาประมาณ 20 ล้านปีแล้ว การเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossilfuel) มีส่วนเพิ่ม CO2 ในบรรยากาศประมาณ 3 ใน 4 ของปริมาณ CO2 ทั้งหมดจากกิจกรรมมนุษย์ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะการทำลายป่าเป็นส่วนใหญ่ ความเข้มของปริมาณ CO2 ที่เจือปนในบรรยากาศปัจจุบันมีประมาณ 383 ส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร (ppm) ประมาณว่าปริมาณ CO2 ในอนาคตจะสูงขึ้นอีกจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน อัตราการเพิ่มขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และการพัฒนาของตัวธรรมชาติเอง แต่อาจขึ้นอยู่กับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก รายงานพิเศษว่าด้วยการจำลองการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Special Report on Emissions Scenarios) ของ IPCC ได้จำลองว่าปริมาณ CO2 ในอนาคตจะมีค่าอยู่ระหว่าง 541 ถึง 970 ส่วนในล้านส่วน ในราวปี พ.ศ. 2643[26] ด้วยปริมาณสำรองของเชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังคงมีเพียงพอในการสร้างสภาวะนั้น และยังสามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้อีกเมื่อเลยปี 2643 ไปแล้ว ถ้าเรายังคงใช้ถ่านหิน น้ำมันดิน น้ำมันดินในทราย หรือมีเทนก้อน (methaneclathratesmethane clathrates เป็นแก๊สมีเทนที่ฝังตัวในผลึกน้ำแข็งในสัดส่วนโมเลกุลมีเทน:โมเลกุลน้ำ = 1 : 5.75 เกิดใต้ท้องมหาสมุทรที่ลึกมาก) ต่อไป
การป้อนกลับ ผลกระทบจากตัวกระทำที่สร้างแรงในบรรยากาศมีความซับซ้อนตามกระบวนการป้อนกลับหลายแบบหนึ่งในผลการป้อนกลับที่เด่นชัดหลายแบบดังกล่าวสัมพันธ์กับการระเหยของน้ำ กรณีความร้อนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกที่มีอายุยืนยาว เช่น CO2 ทำให้น้ำระเหยปะปนในบรรยากาศมากขึ้น และเมื่อไอน้ำเองก็เป็นแก๊สเรือนกระจกชนิดหนึ่งด้วย จึงทำให้บรรยากาศมีความร้อนเพิ่มขึ้นไปอีกซึ่งเป็นการป้อนกลับไปทำให้น้ำระเหยเพิ่มขึ้นอีก เป็นรอบๆ เรื่อยไปดังนี้จนกระทั่งระดับไอน้ำบรรลุความเข้มถึงจุดสมดุลขั้นใหม่ซึ่งมีผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกมากกว่าลำพัง CO2 เพียงอย่างเดียว แม้กระบวนการป้อนกลับนี้จะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มปริมาณความชื้นสัมบูรณ์ในบรรยากาศ แต่ความชื้นสัมพัทธ์จะยังคงอยู่ในระดับเกือบคงที่และอาจลดลงเล็กน้อยเมื่ออากาศอุ่นขึ้น ผลการป้อนกลับนี้จะเปลี่ยนกลับคืนได้แต่เพียงช้าๆ เนื่องจาก CO2 มีอายุขัยในบรรยากาศ (atmospheric lifetime) ยาวนานมาก การป้อนกลับเนื่องจากเมฆกำลังอยู่ในระยะดำเนินการวิจัย มองจากทางด้านล่างจะเห็นเมฆกระจายรังสีอินฟราเรดลงสู่พื้นล่าง ซึ่งมีผลเป็นการเพิ่มอุณหภูมิผิวล่าง ในขณะเดียวกัน หากมองทางด้านบน เมฆจะสะท้อนแสงอาทิตย์และกระจายรังสีอินฟราเรดสู่ห้วงอวกาศจึงมีผลเป็นการลดอุณหภูมิ ผลลัพธ์ของผลต่างของปรากฏการณ์นี้จะมากน้อยต่างกันอย่างไรขึ้นอยู่กับรายละเอียด เช่น ประเภทและความสูงของเมฆ รายละเอียดเหล่านี้มีความยากมากในการสร้างแบบจำลองภูมิอากาศเนื่องจากก้อนเมฆมีขนาดเล็กกระจัดกระจายและมีช่องว่างมากระหว่างก้อนมาก อย่างไรก็ดี การป้อนกลับของเมฆมีผลน้อยกว่าการป้อนกลับของไอน้ำในบรรยากาศ และมีผลชัดเจนในแบบจำลองทุกแบบที่นำมาใช้ในรายงานผลการประเมิน IPCC ครั้งที่ 4 (IPCC Fourth Assessment Report ) กระบวนการป้อนกลับที่สำคัญอีกแบบหนึ่งคือการป้อนกลับของอัตราส่วนรังสีสะท้อนจากน้ำแข็ง เมื่ออุณหภูมิของโลกเพิ่ม น้ำแข็งแถบขั้วโลกจะมีอัตราการละลายเพิ่ม ในขณะที่น้ำแข็งละลายผิวดินและผิวน้ำจะถูกเปิดให้เห็น ทั้งผิวดินและผิวน้ำมีอัตราส่วนการสะท้อนรังสีน้อยกว่าน้ำแข็งจึงดูดซับรังสีดวงอาทิตย์ไว้ได้มากกว่า จึงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นป้อนกลับให้น้ำแข็งละลายมากขึ้นและวงจรนี้เกิดต่อเนื่องไปอีกเรื่อยๆ การป้อนกลับที่ชัดเจนอีกชนิดหนึ่งได้แก่การปลดปล่อย CO2 และ CH4 จากการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) เช่นพรุพีท เยือกแข็ง (frozenpeat bogs) ในไซบีเรียที่เป็นกลไกที่เพิ่มการอุ่นขึ้นของบรรยากาศ การปลดปล่อยอย่างมหาศาลของแก๊สมีเทนจาก “มีเทนก้อน” สามารถทำให้อัตราการอุ่นเป็นไปได้รวดเร็วขึ้นซึ่งเป็นไปตาม “สมมุติฐานปืนคลาทเรท” (clathrate gun hypothesis) ขีดความสามารถในการเก็บกักคาร์บอนลดต่ำลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากการลดลงของธาตุอาหารในชั้นเมโสเพลาจิก (mesopelagic zone) ประมาณความลึกที่ 100 ถึง 200 เมตร ที่ทำให้การเจริญเติบโตของไดอะตอมลดลงเนื่องจากการเข้าแทนที่ของไฟโตแพลงตอนที่เล็กกว่าและเก็บกักคาร์บอนในเชิงชีววิทยาได้น้อยกว่า
ความผันแปรของดวงอาทิตย์ มีรายงานวิจัยหลายชิ้นแนะว่าอาจมีการให้ความสำคัญกับดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อปรากฏการณ์โลกร้อนต่ำไป นักวิจัย 2 คนจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก คือ บรูซ เวสต์ และนิโคลา สกาเฟทตา ได้ประมาณว่าดวงอาทิตย์อาจส่งผลต่อการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกมากถึง 45–50% ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2443–2543 และประมาณ 25–35% ระหว่าง พ.ศ. 2523–2543 รายงานวิจัยของปีเตอร์ สกอต และนักวิจัยอื่นแนะว่าแบบจำลองภูมิอากาศประมาณการเกินจริงเกี่ยวกับผลสัมพัทธ์ของแก๊สเรือนกระจกเมื่อเปรียบเทียบกับแรงจากดวงอาทิตย์ และยังแนะเพิ่มว่าผลกระทบความเย็นของฝุ่นละอองภูเขาไฟและซัลเฟตในบรรยากาศได้รับการประเมินต่ำไปเช่นกัน ถึงกระนั้น กลุ่มนักวิจัยดังกล่าวก็ยังสรุปว่า แม้จะรวมเอาปัจจัยความไวต่อภูมิอากาศของดวงอาทิตย์มารวมด้วยก็ตาม ความร้อนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 20 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ยังนับว่าเป็นผลจากการเพิ่มปริมาณของแก๊สเรือนกระจกเสียมากกว่า สมมุติฐานที่แตกต่างไปอีกประการหนึ่งกล่าวว่า การผันแปรของอัตราการปล่อยความร้อนออกของดวงอาทิตย์ (solar output) สู่โลก ซึ่งเกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้นในการเติมสารเคมีในกลุ่มเมฆจาก รังสีคอสมิกในดาราจักร (galactic cosmic rays) อาจเป็นตัวการทำให้เกิดความร้อนที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เพิ่งผ่านพ้นไป สมมุติฐานนี้ เสนอว่า แรงกระทำจากสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งยวดในการหันเหรังสีคอสมิกที่ส่งผลต่อการก่อตัวของนิวเคลียสในเมฆ และทำให้มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศด้วย ผลกระทบประการหนึ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มแรงกระทำจากดวงอาทิตย์ คือการที่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์อุ่นขึ้น ในขณะที่ตามทฤษฏีของแก๊สเรือนกระจกแล้วชั้นบรรยากาศนี้ควรจะเย็นลง ผลสังเกตการณ์ที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2505 พบว่ามีการเย็นตัวลงของชั้นสตราโตสเฟียร์ช่วงล่าง การลดลงของปริมาณโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์มีอิทธิพลต่อการเย็นลงของบรรยากาศมานานแล้ว แต่การลดที่เกิดขึ้นมากโดยชัดเจนปรากฏให้เห็นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2515เป็นต้นมา ความผันแปรของดวงอาทิตย์ร่วมกับการระเบิดของภูเขาไฟ อาจมีผลให้เกิดการเพิ่มอุณหภูมิมาตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องมาถึงประมาณ พ.ศ. 2490 แต่ให้ผลทางการลดอุณหภูมิตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2549 ปีเตอร์ ฟูกัล และนักวิจัยอื่นๆ จากสหรัฐฯ เยอรมันและสวิตเซอร์แลนด์พบว่า ดวงอาทิตย์ไม่ได้ส่องสว่างมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในรอบหนึ่งพันปีที่ผ่านมา วัฏจักรของดวงอาทิตย์ที่ส่องสว่างมากขึ้นทำให้โลกอุ่นขึ้นเพียง 0.07% ใน 30 ปีที่ผ่านมา ผลกระทบนี้จึงมีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนน้อยมากๆ รายงานวิจัยของ ไมค์ ลอควูด และเคลาส์ ฟลอห์ลิช พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์โลกร้อนกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ไม่ว่าจากความผันแปรจากดวงอาทิตย์หรือจากรังสีคอสมิก เฮนริก สเวนมาร์ก และไอกิล ฟริอิส-คริสเตนเซน ผู้สนับสนุนสมมุติฐาน “การถูกเติมสารเคมีลงในกลุ่มเมฆจากรังสีคอสมิกในดาราจักร” ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของลอควูด และ ฟลอห์ลิช