วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

นครวัด

http://th.upload.sanook.com/A0/22a20de5674ee849837a8362f2baf37d
นครวัด


ปราสาทบันทายสรี
• ปีที่สร้าง : สร้างในต้นพุทธศตวรรษที่ 16
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 5
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบันทายสรี
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย (บูชาพระศิวะ)
• ตามจารึกที่ปราสาทบันทายสรีกล่าวว่าปราสาทแห่งนี้สร้างใน พ.ศ. 1510 โดยพราหมณ์ชื่อยัชญวราหะ• ออกจากปราสาบันทายสรี ก็มาต่อกันที่ ปราสาทสำเหร่
ปราสาทบันทายสำเหร่
• ปีที่สร้าง : สร้างกลางปีพุทธศตวรรษที่ 17
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และต่อเติมโดยพระเจ้ายโศวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบนครวัด
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย
• ปราสาทบันทายสำเหร่ ตั้งอยู่ไกลจากปราสาทในกลุ่มเมืองพระนคร ปราสาทแห่งนี้คล้ายกับปราสาทหินพิมาย
ปราสาทตาพรหม
• ปีที่สร้าง : สร้างในปลายปีพุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ. 1729)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการขยายพื้นที่สร้างต่อเติมอีกในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
• ปราสาทตาพรหมจัดได้ว่าเป็นวัดในพุทธศาสนาและเป็นวิหารหลวงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
นครธมและปราสาทบายน
• ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
• ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน
• ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธม แปลว่า ใหญ่) เมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์เป็นที่สุด
• ปราสาทบายนสร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ปราสาทนครวัด นครวัด เที่ยวนครวัด ทัวร์นครวัด รูปนครวัด
• ปีที่สร้าง : พุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1650 – 1693)
• รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
• ศิลปะ : ศิลปะแบบนครวัด
• ศาสนา : ศาสนาฮินดู ไวษณพนิกาย
• มหาปราสาทนครวัด ก่อสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 1650 – 1693) จุดประสงค์เพื่อสร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุเทพในศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ และยังใช้เป็นราชสุสานเก็บพระศพของพระองค์ ด้วยเหตุนี้มหาปราสาทนครวัดจึงถูกสร้างให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต่างจากปราสาทอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น